เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 กรกฎาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 32624 คน
ความยาว 5:12 นาที
[[ คลิกเปิดไฟล์สื่อวีดิทัศน์ ]]
การใช้ไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืช
ความยาว: 5.12 นาที
ข้อมูล : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เรียบเรียงเนื่อหา/จัดทำสื่อ : งานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีผลิต 2565
รายละเอียด
วิดีทัศน์แนะนำแนวทางการป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ “ไตรโคเดอร์” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรคพืช ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรได้อย่างปลอดภัย ได้แก่ การคลุกเมล็ด , การรองก้นหลุม , การผสมกับวัสดุปลูก และ การผสมน้ำฉีดพ่น รวมถึงข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ที่ควรทราบ เพื่อลดความเสียหายทั้งสารพิษตกค้างในผลผลิต สิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้งาน รวมทั้งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสัตว์เลี้ยงทั่วไป และสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์
ไตรโคเดอร์ม่า
ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในดิน เศษซากพืช ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ และบริเวณระบบรากพืช ซึ่งบางสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถหาอาหารได้มาก ส่งผลให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี
ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ ที่มีคุณสมบัติ และศักยภาพสูงในการควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืชได้ หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราที่อยู่ในดิน เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคเน่าคอดิน โรคใบไหม้ใบจุด โรคแอนแทรคโนส ในพืชผัก เช่น พริก แตงกวา มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดขาว มันฝรั่ง เป็นต้น
แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
ในประเทศไทยมีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ ทั้งรูปแบบเชื้อสด เชื้อสำเร็จรูปในรูปแบบผงแห้ง และชนิดน้ำ โดยมีแนวทางในการใช้งานเชื้อราไตรโคเดอร์ชนิดเชื้อสด ดังนี้
ข้อควรระวัง
ที่มา : การใช้ไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืช
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา