โลโก้เว็บไซต์ ยาสูบ และแนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ  | คลังความรู้ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ยาสูบ และแนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 กรกฎาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 15149 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ไฟล์สื่อวีดิทัศน์ คลิกที่นี่

ความยาว 4:12 นาที
[[ คลิกเปิดไฟล์สื่อวีดิทัศน์ ]]

 

 

ยาสูบ และแนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ 
ความยาว: 4.12 นาที
ข้อมูล : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เรียบเรียงเนื่อหา/จัดทำสื่อ : งานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีผลิต 2565

 

รายละเอียด
วิดีทัศน์แนะนำแนวทางการป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้สารสกัดจาก “ยาสูบ” ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรได้อย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสียหายทั้งสารพิษตกค้างในผลผลิต สิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้งาน รวมทั้งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสัตว์เลี้ยงทั่วไป และสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ 
 

 

 

ยาสูบ


ยาสูบ เป็นไม้ล้มลุก ใบของยาสูบมีสารประกอบไนโตรเจนหมู่หนึ่งที่เรียกว่า "แอลคาลอยด์" ซึ่งมีนิโคติน เป็นส่วนใหญ่ซึ่ง นิโคติน มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ข้อดีของการใช้สารสกัดยาสูบ คือ มีราคาถูก ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้มากกว่าการใช้สารเคมี ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค เมื่อทำการเก็บเกี่ยวตามคำแนะนำ ไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม


กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดยาสูบ สามารถเตรียมสารสกัดยาสูบจาก 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. ยาสูบใบแห้ง
    ใช้ใบยาสูบแห้ง จำนวน 20 กรัม แช่น้ำจำนวน 20 ลิตร ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น กรองด้วยผ้าขาวบาง ผสมสารจับใบ 5 มิลลิลิตร ก่อนนำไปใช้ฉีดพ่น
     
  2. ยาเส้น
    ใช้ยาเส้นสำเร็จรูป จำนวน 20 กรัม แช่น้ำจำนวน 60 ลิตร ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง กรองด้วยผ้าขาวบาง ผสมสารจับใบ 5 มิลลิลิตร ก่อนนำไปใช้ฉีดพ่น
     
  3. สารสกัดยาสูบสำเร็จรูป
    ที่มีใช้ทั่วไปตามท้องตลาด นำสารสกัดจำนวน 500 มิลลิลิตร ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร และสารจับใบ 5 มิลลิลิตร นำไปใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช 

 

แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง

  1. การฉีดพ่น ไม่ควรฉีดพ่นในช่วงที่มีแดดจัด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสารสกัดระหว่างการเตรียมและฉีดพ่น เนื่องจากสารนิโคตินเป็นสารที่มีพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยทางการกินและสัมผัสทางผิวหนัง 
     
  2. ควรทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากฉีดพ่นสารสกัดยาสูบไปแล้วอย่างน้อย 4 วัน เพื่อให้สารนิโคตินสลายตัว
     

 

 

 






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา