โลโก้เว็บไซต์ การใช้เชื้อ Bacillus เพื่อการผลิตพืชให้เกิดประสิทธิภาพ | คลังความรู้ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

การใช้เชื้อ Bacillus เพื่อการผลิตพืชให้เกิดประสิทธิภาพ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 กรกฎาคม 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 11708 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ไฟล์สื่อวีดิทัศน์ คลิกที่นี่

ความยาว 3:35 นาที
[[ คลิกเปิดไฟล์สื่อวีดิทัศน์ ]]

 

 

การใช้เชื้อ Bacillus เพื่อการผลิตพืชให้เกิดประสิทธิภาพ
ความยาว: 3.35 นาที
ข้อมูล : สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เรียบเรียงเนื่อหา/จัดทำสื่อ : งานบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปีผลิต 2565

 

รายละเอียด
วิดีทัศน์ชุด สื่อการเรียนรู้การใช้สารชีวภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพ แนะนำแนวทางการใช้เชื้อ Bacillus  เพื่อการผลิตพืชให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการคลุกเมล็ด และ ผสมน้ำฉีดพ่น สามารถป้องกันและควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียหลายชนิด เช่น แอนแทรคโนสในพริก โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia ในพืชตระกูลมะเขือ เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาวเป็นต้น

 

เชื้อ Bacillus subtilis (BS) บาซิลลัส ซับทิลิส

 

เชื้อ Bacillus subtilis เป็นแบคทีเรียที่สามารถสร้างแอนโดสปอร์ซึ่งมีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตได้ดี สามารถใช้ป้องกันและควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียหลายชนิด มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค เช่น แอนแทรคโนสในพริก  โรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia ในพืชตระกูลมะเขือ เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาวเป็นต้น

 

แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

  • การคลุกเมล็ด
    โดย ใช้อัตรา 1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หรือ 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือแช่เมล็ด เป็นเวลา 30 นาที โดยใช้อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก

     
  • การผสมน้ำฉีดพ่
    โดย ใช้อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบจำนวน 5 มิลลิลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน ในช่วงเวลาที่แดดอ่อนในช่วงเวลาเย็น

 

 

 




ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา