ชุมชนวัดเกตเป็นชุมชนโบราณ โดยรวมผู้คนจากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน ฝรั่งและชาวพื้นเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก วัฒนธรรมที่หลากหลายของชุมชนแห่งนี้ถูกสะท้อนผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมชาติต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ภายในชุมชนมีวัดเกตุการามเป็นศูนย์กลางระหว่างแต่ละชุมชน แต่เดิมก่อนที่จะมีรถไฟมาถึง ชุมชนวัดพระเกตเคยเป็นท่าน้ำที่สำคัญของการเดินทางระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์(กรุงเทพมหานคร) ถึงจังหวัดเชียงใหม่และเมืองอื่นๆ ทางตอนใต้ลงไป ต่อมาในปี พ.ศ.2339 ภายหลังการสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์เริ่มมีการก่อสร้างบ้านเรือนขึ้นอย่างจริงจัง ย่านวัดเกตุจึงเริ่มมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น
สถานที่รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนโบราณแห่งนี้อยู่ ณ พิพิธภัณฑ์วัดเกต ภายในวัดเกต-การาม โดยมีการจัดแสดงทั้งสมบัติดั้งเดิมของวัด เช่น ช่อฟ้า ใบระกาซึ่งเป็นไม้แกะสลักจากโบสถ์เดิม ถ้วยชามฝาจีบ ภาชนะต่างๆ เป็นต้น
ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ถือเป็นแหล่งรวมความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมและศาสนาที่มีความหลากหลายในแต่ละยุคสมัยในอดีตจนถึงปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับกลิ่นไอวัฒนธรรมของชาติต่างๆ ได้จากอาคารบ้านเรือนที่งดงามตลอดสองฟากถนน
0-14 ปี | 15-24 ปี | 25-59 ปี | 60 ปีขึ้นไป |
---|---|---|---|
0 | 0 | 0 | 0 |
ชุมชนวัดเกต เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก เกิดจากชนหลายเชื้อชาติไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวฝรั่ง และชาวพื้นเมือง สามารถดูได้จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลือมาจนถึงในปัจจุบันนี้ มีวัดเกตุการามอยู่ศูนย์กลางระหว่างชุมชน การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ช่วงหลัง พ.ศ.2339 หรือหลังการสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง ก่อนหน้าที่รถไฟจะมาถึงเชียงใหม่ ที่นี่เป็นชุมชนที่เป็นท่าน้ำสำคัญ ของการเดินทางเรือระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) มายังเมืองเชียงใหม่ และเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้ลงไป ย่านวัดเกตุจึงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความจำเป็นทางเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ในยุคนั้น ย่านวัดเกตุ แต่เดิมคือย่านค้าขายของชาวจีนและย่านชาวฝรั่งฝั่งตะวันออกของน้ำปิงเป็นย่านที่รุ่งเรืองสูงสุด ในยุค ในยุคสุดท้ายของการค้าทางน้ำของเชียงใหม่ ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองในอดีตที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันว่าถนนสายนี้คือศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญของย่านวัดเกต คืออาคารบ้านเรือนที่งดงามโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าตลอดสองฟากถนน ย่านชุมชนค้าขายของชาวจีนแห่งแรกในเชียงใหม่คือ ย่านวัดเกตุ ที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าชุมชนชาวจีนแห่งใดในเชียงใหม่ ได้จัดตั้งชุมชนอย่างเป็นทางการโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2544
ตั้งอยู่บนถนนเจริญราษฎร์ หรือ ถนนหน้าวัดเกต ติดริมน้ำปิง ต.วัดเกต อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50000
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดชุมชนหนองเส้ง-ฟ้าฮ่าม
ทิศใต้ ติดชุมชนบ้านสันป่าข่อย
ทิศตะวันออก ติดชุมชนกู่คำ
ทิศตะวันตก ติดแม่น้ำปิง
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาไปยังชุมชนวัดเกต
จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตรสภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
พื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ าปิงมีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทย คือ “ดอยอินทนนท์” มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๒,๕๖๕ เมตร นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นๆที่มีความสูง รองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก (ความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ๒,๒๘๕ เมตร) ดอยหลวงเชียงดาว (ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒,๑๗๐ เมตร) ดอยสุเทพ (ความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑,๖๐๑ เมตร) สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและ ทิศตะวันตะวันตกของจังหวัดคิดเป็นพื้นที่ประมาณ ๘๐ % ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ลำธาร ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูก พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขากระจายอยู่ทั่วไประหว่าง หุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ - ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร
ชุมชนวัดเกต พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา
กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ที่เรียกว่าราบลุ่มน้ำปิง
ตำบลวัดเกตมีเนื้อที่ทั้งหมด 11.49 ตารางกิโลเมตร
Village Profile
สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา© Village Profile 2018-2019 - All rights reserved.