เทคโนโลยีการเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เป็นก๊าซชีวภาพ
โดย กลิ่นประทุม ปัญญาปิง
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2563.
จำนวน 40 หน้า
ISBN 978-974-625-902-6
ISBN 978-974-625-903-3 (e-Book)
เกี่ยวกับหนังสือ
หนังสือเรื่อง "เทคโนโลยีการเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เป็นก๊าซชีวภาพ" กล่าวถึงเทคโนโลยีที่ช่วยเปลี่ยนของเสียอินทรีย์ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในรูปของพลังงานสะอาด คือ ก๊าซชีวภาพ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ความเป็นมาและความสำคัญในการใช้เทคโนโลยี พื้นฐานเทคโนโลยีการเปลี่ยนของเสียอินทรีย์เป็นก๊าซชีวภาพ ทฤษฎีเบื้องต้นของการเกิดก๊าซชีวภาพ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ วิธีการเตรียมระบบและการเดินระบบหมักย่อย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงของเสียอินทรีย์ เพื่อใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ประชากร ทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ทำให้เกิดรายได้ต่อไป
#ก๊าซชีวภาพ
#พลังงานชีวภาพ
#เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ
#พลังงานจากขยะ
#การผลิตก๊าซชีวภาพ
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีของเสียอินทรีย์เกิดขึ้นอยู่จำนวนมาก เช่น เศษก้านและใบไม้ เศษอาหาร และวัชพืชหลักในแหล่งน้ำ ในขณะที่ของเสียอินทรีย์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากการกำจัดทั้งมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย และขยะมูลฝอย เป็นต้น ส่วนแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง และบึงน้ำยังพบว่ามีวัชพืชน้ำที่สำคัญ คือ ผักตบชวา ขึ้นอยู่ทั่วไปและอยู่ในจำพวกของเสียอินทรีย์ที่ยากต่อการกำจัด จึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนของเสียอินทรีย์ดังกล่าว ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในรูปของพลังงานสะอาด คือ ก๊าซชีวภาพ โดยเทคโนโลยีข้างต้นได้ผ่านการศึกษาวิจัยกับเศษอาหาร เศษก้านและใบไม้ รวมทั้งผักตบชวา ด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กันและสูตรของสัดส่วนวัสดุหมักทั้ง 3 กลุ่มที่เหมาะสมได้นำมาเสนอไว้ภายในสื่อฉบับนี้ เพื่อใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ประชากร ทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ทำให้เกิดรายได้ต่อไป เพื่อช่วยให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายขององค์กรสหประชาชาติในปีค.ศ. 2030
คลังหนังสือความรู้ : Knowledge bookstore
ISBN 978-974-625-832-6 (Print)
ISBN 978-974-625-831-9 (Online)
© Copyright 2018 CTTC - All rights reserved.