มะเกี๋ยง ผลไม้มากประโยชน์
โดย
อรุณ โสตถิกุล
สุทพ ทองมา
สุภาวดี แช่ม
ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถกา
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2562.
จำนวน 39 หน้า
ISBN 978-974-625-866-1
ISBN 978-974-625-868-5 (e-Book)
เกี่ยวกับหนังสือ ::
หนังสือองค์ความรู้ "มะเกี๋ยง ผลไม้มากประโยชน์" จัดทำขึ้นภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (อพ.สธ-มทร.ล้านนา) ซึ่งสรุปองค์ความรู้จากการดำเนินการอนุรักษ์ รวบรวมพันธุกรรมมะเกี๋ยง ตลอดจนข้อมูลจากการศึกษาเพื่อหาวิธีปรับปรุงพันธุ์ ขยายพันธ์ และการนำพืชมะเกี๋ยงแต่ละสายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าในทางเศรษฐกิจ ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประกอบด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะเกี๋ยง
การใช้ประโยชน์จากมะเกี๋ยงในด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และการแปรรูปมะเกี๋ยง
#มะเกี๋ยง
#การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
#มะเกี๋ยง -- การใช้ประโยชน์
#มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา #KBS
คำนำ
มะเกี๋ยงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี พบในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ในท้องถิ่นใช้บริโภคในรูปของผลสด และผลดอง พบอยู่ในเขตชุมชนไม่มีการปลูกเป็นการค้า และเป็นพืชที่มีผู้ศึกษากันน้อยมาก จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้นำผลมะเกี๋ยงมาแปรรูปเป็นไวน์ผลไม้ พบว่าได้ไวน์ที่มีคุณภาพดี ทั้งด้านสี และรสชาติ คล้ายไวน์จากองุ่นแดง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ เช่น แยม น้ำผลไม้ สีผสมอาหาร ได้อีกด้วย ปัจจุบันต้นมะเกี๋ยงในธรรมชาติ และที่ปลูกตามหมู่บ้าน ได้ถูกตัดทำลายไปมาก หากเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกไม่นานอาจสูญพันธุ์ได้ จึงเป็นพืชที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ รวบรวมพันธุกรรมไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไป
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้ร่วมสนองงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(อพ.สธ.) ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการอนุรักษ์ รวบรวมพันธุกรรมมะเกี๋ยง ตลอดจนมีการศึกษาเพื่อหาวิธีปรับปรุงพันธุ์ ขยายพันธ์ และการนำพืชมะเกี๋ยงแต่ละสายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าในทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชยืนต้น ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองให้คงอยู่ อันเป็นการอนุรักษ์ไว้ได้อีกทางหนึ่ง
คลังหนังสือความรู้ : Knowledge bookstore
ISBN 978-974-625-832-6 (Print)
ISBN 978-974-625-831-9 (Online)
© Copyright 2018 CTTC - All rights reserved.